.
.
.
ประกาศลำดับการนำเสนอ
การประชุมวิชาการศิลปศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 4
ประกาศผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ
คณะกรรมการจะส่งผลการพิจารณาให้ผู้นำเสนอบทความทราบผ่านทางอีเมล์ของท่าน ซึ่งหากมีการแก้ไขให้ผู้นำเสนอดำเนินการแก้ไขและส่งบทความกลับมายัง e-mail: lartsresearch@mail.rmutk.ac.th
ทั้งนี้ จะประกาศลำดับการนำเสนอประชุม ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2566 ผ่านทางเว็บไซต์
หลักการและเหตุผล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ตอบสนองนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเน้นพันธกิจ 6 ด้าน
- ผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการปฏิบัติ และมีคุณธรรม
- สร้างงานวิจัย
- บริการวิชาการ
- บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
- ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
- จัดการศึกษาเพื่อรองรับการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้ คณะศิลปศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในพันธกิจด้านการส่งเสริมงานวิชาการและงานวิจัยให้ประจักษ์ชัด แสดงถึงจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของคณะศิลปศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ความสำคัญของการพัฒนาด้านวิชาการและงานวิจัย รวมทั้งกระบวนการเรียนรู้ และปรับใช้นวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้นักการศึกษาจึงต้องสร้างความรู้ในหลากหลายมิติและนำเสนอผลงานในรูปแบบการวิจัย อันเป็นภารกิจสำคัญของบุคลากรทางการศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย รวมถึงนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
จากความสำคัญข้างต้น คณะศิลปศาสตร์ได้กำหนดกลยุทธ์การปฏิบัติงาน ส่งเสริม สนับสนุนในงานวิชาการและงานวิจัย ให้มีคุณภาพเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นในการสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และอุตสาหกรรมบริการ เพื่อเป็นฐานกำลังสำคัญต่อบทบาทของนักวิชาการไทย จึงมีนโยบายจัดโครงการ “การประชุมวิชาการศิลปศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 4 ” มีเป้าหมายในการจัดนำเสนอผลงานวิชาการและวิจัย ด้านศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ และการวิจัยจากหลากหลายมหาวิทยาลัยให้ผลงานวิจัยได้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ สร้างความมั่นคงทางด้านงานวิชาการ เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยน แสดงความก้าวหน้าของงานวิชาการระดับชาติและการวิจัยสาขาศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และอุตสาหกรรมบริการ เป็นการสร้างเครือข่ายให้กับนักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ นักศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
- เพื่อสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ และเผยแพร่งานวิจัยในสาขาศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และอุตสาหกรรมบริการ ให้กับนักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา
ขอบข่ายของบทความที่นำเสนอ
เป็นการนำเสนอผลงานวิจัย บทความ ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งชองการศึกษาที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หรืออยู่ระหว่างดำเนินการ) ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา นักประดิษฐ์และบุคคลทั่วไป จากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ดังนี้
เปิดรับบทความครอบคลุมในสาขาดังต่อไปนี้
- กลุ่มที่ 1 Wisdom
- ศิลปกรรม
- ทัศนศิลป์
- การออกแบบ
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์/ภูมิปัญญาไทย
- กลุ่มที่ 2 Innovation
- นวัตกรรมการศึกษา
- เทคโนโลยีการศึกษา
- ครุศาสตร/อุตสาหกรรม
- สื่อและการสื่อสาร
- สหวิทยาการ
- กลุ่มที่ 3 Social Sciences
- ปรัชญา/ศาสนา
- ภาษาศาสตร//วรรณคดี
- กฎหมาย/การปกครอง
- พหุวัฒนธรรม
- จิตวิทยา
- สังคมวิทยา/มานุษยวิทยา
- การจัดการ/บริหาร/การตลาด
- บรรณารักษศาสตร//สารสนเทศ
- กฎหมาย การเมือง การปกครอง
- อาชญาวิทยา และกระบวนการยุติธรรม
- กลุ่มที่ 4 Hospitality
- การท่องเที่ยว
- โรงแรม
- อุตสาหกรรมบริการ
รูปแบบการประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้โดยวิทยากรพิเศษ และการนำเสนอผลงานวิจัยโดยผู้ส่งบทความในรูปแบบการนำเสนอปากเปล่า (Oral presentation)
รายละเอียดและกำหนดการการนำเสนอผลงานการประชุมทางวิชาการ
กำหนดการ | กิจกรรม |
ตั้งแต่บัดนี้ ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2566 | ลงทะเบียน เปิดรับบทคัดย่อ |
วันที่ 10 กรกฏาคม 2566 | ประกาศผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ |
วันที่ 15 กรกฏาคม 2566 | ประกาศกำหนดข้อมูลตารางการนำเสนอ |
วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 | ส่งไฟล์นำเสนอ |
วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 | งานประชุมวิชาการ |
วันที่ 30 สิงหาคม 2566 | เผยแพร่ เล่มบทคัดย่อ การประชุมวิชาการศิลปศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 4 (Book of Abstracts) ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ |
การประชุมวิชาการศิลปศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 4 ทางคณะกรรมการจะเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในรูปแบบเผยแพร่ เล่มบทคัดย่อ การประชุมวิชาการศิลปศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 4 (Book of Abstracts) เป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีผู้เสนอบทความวิชาการ หากมีความประสงค์ขอส่งบทความในวารสารศิลปศาสตร์ มทรก. สามารถแจ้งความประสงค์ในการแบบฟอร์มลงทะเบียน ทางคณะกรรมการผู้จัดงานจะพิจารณาการคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการพิจารณาบทความลงในวารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพในลำดับถัดไป ทางอีเมล์ หลังมีการนำเสนอบทความทางวิชาการเรียบร้อยแล้ว ฉบับปีที่ 5 มีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) พิจารณา 3 ท่าน ทั้งนี้การพิจารณาการตีพิมพ์บทความลงฉบับใดนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการพิจารณาของบรรณาธิการวารสาร
รูปแบบ (Template) สามารถดาวน์โหลดที่ คู่มือและแบบฟอร์ม
ขั้นตอนการพิจารณาดำเนินการ พิจารณา การส่งบทคัดย่อ เพื่อประชุมศิลปศาสตร์วิชาการแห่งชาติครั้งที่ 4
- ผู้นำเสนอส่งบทความ มายังคณะกรรมการดำเนินการประชุมสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการส่งระบบการลงทะเบียน ในรูปแบบ word file และ pdf file ลงทะเบียนส่งบทคัดย่อ ได้ที่ แบบฟอร์มลงทะเบียน
- รูปแบบการเขียนบทคัดย่อ การประชุมวิชาการศิลปศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 4
– บทความวิจัย Larts2023_researchTemplate.doc
– บทความวิชาการ Larts2023_academaic Template.doc
การตั้งชื่อไฟล์ส่งบทความ
กรณีเป็นบทความวิจัย : ชื่อตัวเองLarts2023_research.pdf ชื่อตัวเองLarts2023_research.doc
กรณีเป็นบทความวิชาการ : ชื่อตัวเองLarts2023_academaic.pdf ชื่อตัวเองLarts2023_academaic.doc - เมื่อลงทะเบียนส่งบทคัดย่อเรียบร้อยแล้ว ขอให้ท่านเข้ากลุ่มไลน์ WISH2023 เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารประสานงาน
- เมื่อระบบได้รับบทคัดย่อ จะมี e- mail ตอบกลับไปยังผู้ส่งทราบตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้
- คณะกรรมการดำเนินการประชุมขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับพิจารณาบทคัดย่อที่ส่งหลังจากวันที่กำหนด และจะไม่ส่งคืนเอกสารใด ๆ ทั้งสิ้น
- คณะกรรมการดำเนินการประชุมจะส่งบทคัดย่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) 2 ท่าน อ่านและประเมิน
- คณะกรรมการดำเนินการประชุมจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้นำเสนอทราบทาง เว็บไซต์ และ e-mail ซึ่งหากมีการแก้ไขให้ผู้นำเสนอดำเนินการแก้ไขยัง e-mail: lartsresearch@mail.rmutk.ac.th และโทรแจ้งผู้ประสานงาน คุณเกียรติศักดิ์ แซ่โค้ว เบอร์โทร 08 5821 0521
- ทางคณะกรรมการดำเนินการประชุมจะแจ้งกำหนดจาก รายละเอียดการนำเสนอ ให้ทราบผ่านเว็บไซต์
- ผู้นำเสนอต้องจัดทำไฟล์นำเสนออยู่ในรูปแบบไฟล์ power point และ pdf เพื่อประกอบการนำเสนอประชุมวิชาการ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ทั้งนี้สามารถนำส่งมายัง e-mail: lartsresearch@mail.rmutk.ac.th
- ผู้เขียนจำนวนอย่างน้อย 1 ท่านของแต่ละบทความ ต้องลงทะเบียนและนำเสนอผลงานตามวัน เวลาที่
- คณะกรรมการจัดงานกำหนดเท่านั้น จึงจะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ ลงใน เล่มบทคัดย่อ การประชุมวิชาการศิลปศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 4 (Book of Abstracts) ฉบับอิเล็กทรอนิกส์
- ในกรณีผู้เสนอ มีความประสงค์ขอส่งบทความในวารสารศิลปศาสตร์ มทรก. คณะกรรมการผู้จัดงานจะพิจารณาการคัดเลือก ซึ่งคณะกรรมการผู้จัดงานจะแจ้งผลการพิจารณาให้ท่านทราบหลังมีการนำเสนอประชุมวิชาการเรียบร้อยแล้ว ทางอีเมล์ และ บทความที่ผ่านการพิจารณาจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาบทความลงในวารสารศิลปศาสตร์ มทร. กรุงเทพ ฉบับปีที่ 5 มีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) พิจารณา 3 ท่าน ทั้งนี้การพิจารณาการตีพิมพ์บทความลงฉบับใดนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการพิจารณาของบรรณาธิการวารสาร
หมายเหตุ: ทั้งนี้ บทคัดย่อของผู้นำเสนอผลงานได้รับไปปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) โดยผ่านการพิจารณา 2 ท่าน จึงจะเผยแพร่ เล่มบทคัดย่อ การประชุมวิชาการศิลปศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 4 (Book of Abstracts) เป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้จัดการกำหนด คือ ต้องชำระค่าลงทะเบียนในช่วงเวลาที่กำหนดและผู้นำเสนอจะต้องมาร่วมการประชุมอย่างน้อย 1 ท่าน
ขอบข่ายเนื้อหาการนำเสนอประชุมวิชาการ
- ผู้นำเสนอการประชุมวิชาการต้องดำเนินการการทำต้นฉบับการนำเสนออยู่ในรูปแบบไฟล์ power point และ pdf เพื่อประกอบการนำเสนอประชุมวิชาการ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เป็นเวลา 20 นาที ( นำเสนอเวลา 10 นาที และ 10 นาที ในการถามตอบ)
โดยประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ ดังนี้
ขอบข่ายการนำเสนอบทความวิชาการ บทความวิจัย ที่ผู้นำเสนอต้องนำเสนอวันประชุมวิชาการ
บทความวิจัย | บทความวิชาการ |
• ชื่อเรื่อง • ผู้แต่ง • บทคัดย่อ/คำสำคัญ • บทนำ • จุดประสงค์การวิจัย • หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง • วิธีดำเนินการวิจัย • ผลการวิจัยและการอภิปรายผล • สรุปผลการวิจัย • กิตติกรรมประกาศ (ไม่มีก็ได้) • การอ้างอิง | • ชื่อเรื่อง • ผู้แต่ง • บทคัดย่อ/คำสำคัญ • บทนำ • เนื้อเรื่อง • ส่วนสรุป • กิตติกรรมประกาศ (ไม่มีก็ได้) • การอ้างอิง |